หน้าที่ราชการในกรมรถไฟแผ่นดินสยาม ของ หม่อมหลวงจรัญ สนิทวงศ์

  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 นายช่างผู้ช่วยประจำกองก่อสร้างสายตะวันออกเฉียงเหนือ
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2469 เป็น นายช่างผู้ช่วยประจำกองบำรุงทางแขวงหัวหิน กรมรถไฟแผ่นดิน
  • 01 เมษายน พ.ศ. 2470 เป็น นายช่างภาคชั้นที่ 2 และดำรงตำแหน่ง นายช่างบำรุงทางแขวงหัวหิน กรมรถไฟแผ่นดิน
  • 01 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็น เลื่อนเป็น นายช่างภาคชั้นที่ 1
  • 01 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็น ไปประจำกองบำรุงทางและสถานที่ กรมรถไฟหลวง
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็น นายช่างกำกับการกองบำรุงทางและสถานที่ กรมรถไฟหลวง
  • 01 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เป็น รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการราชการฝ่ายการช่างโยธา กรมรถไฟ กระทรวงเศรษฐการ
  • 09 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็น ผู้อำนวยการราชการฝ่ายการช่างโยธา กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เลื่อนเป็น ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ชั้นพิเศษ จนถึง 14 พย.2487 จึงย้ายไปเป็น อธิบดีกรมโลหกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม

นามของท่านถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของถนนที่ตัดใหม่โดยกรมทางหลวงในฝั่งธนบุรี เชื่อมถนนเพชรเกษม ตั้งแต่แยกท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ผ่านเขตบางกอกน้อย ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทางประมาณ 11.4 กิโลเมตร [7] ไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 6 ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เดิมถนนสายนี้กรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อผิดเป็น "จรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" [8]